ร่วมค้นพบพบงานศิลปะ
ศิลปินและผลงานศิลปะของศาลเจ้าดะไซฟุ เท็นมังงุ
© ไรอัน แกนเดอร์
Really shiny stuff that doesn’t mean anything, 2011
Courtesy of Taro Nasu, Tokyo
ศิลปะได้รับการยกย่องที่ศาลเจ้าดะไซฟุ เท็นมังงุ นับแต่แรกตั้งขึ้นในต้นศตวรรษที่ 10 ศาลเจ้ายังคงรักษามรดกนี้ไว้จนถึงปัจจุบันด้วยโปรแกรมจัดแสดงงานศิลปะอันล้ำสมัยซึ่งดึงดูดศิลปินที่มีความสามารถจากทั่วโลก ผลงานของพวกเขากระจายอยู่ทั่วบริเวณ และเชิญชวนให้ถกเถียงในหัวข้อต่างๆ ตั้งแต่เรื่องความศรัทธาและความเชื่อ ขอบเขตระหว่างจินตนาการกับความจริง ระบบนิเวศ และชีวิตอันไม่เป็นนิรันดร์
ภาพถ่าย โดย จูเลียน เอบรัมส์
ไรอัน แกนเดอร์
ไรอัน แกนเดอร์ ศิลปินเชิงแนวคิด (คอนเซ็ปชวลอาร์ต) ชาวอังกฤษได้สร้างผลงานที่เชื่อมโยงชีวิตประจำวันเข้ากับพลังเบื้องหลัง แกนเดอร์ใช้เทคนิคและอุปกรณ์อย่างหลากหลายริเริ่มงานประติมากรรมและศิลปะจัดวางเพื่อสร้างสรรค์เรื่องราวที่แตกออกมาเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย กระตุ้นให้ผู้ชมสร้างรูปแบบการเล่าเรื่องเฉพาะตัวขึ้นมา คอลเลกชันผลงานศิลปะชิ้นสำคัญของเขาได้จัดแสดงและจัดขึ้นทั่วโลก
Really shiny stuff that doesn’t mean anything
มนุษย์มักถูกดึงดูดให้เข้าหาสิ่งที่สว่างไสวเป็นประกาย ไรอัน แกนเดอร์ ค้นหาความหลงใหลโดยธรรมชาตินี้ผ่าน Really shiny stuff that doesn't mean anything งานศิลปะแบบจัดวางของเขา ลูกบอลขนาดมหึมาประกอบไปด้วยวัตถุที่เป็นแม่เหล็กแวววับชิ้นเล็กชิ้นน้อยนับพันๆชิ้นติดไว้ให้มองเห็นได้
งานของแกนเดอร์คล้ายจะตั้งคำถามถึงความปรารถนาที่ฝังลึกซึ่งผลักดันผู้คนไปสู่วัตถุมันวาว
อำนาจแม่เหล็กดึงดูดวัตถุในที่ที่มองไม่เห็น และชิ้นส่วนยังอาจแตกเป็นเสี่ยงๆ ไร้แรงยึดเหนี่ยว ความคิดเกี่ยวกับพลังอำนาจที่มองไม่เห็นนี้ดึงศรัทธากับความเชื่อเข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งเป็นแนวคิดที่ลงตัวพอดีกับสภาพแวดล้อมของศาลเจ้าดะไซฟุ
เท็นมังงุ
Really shiny stuff that doesn’t mean anything, 2011
Courtesy of Taro Nasu, Tokyo
Everything is Learned IV, 2011
Courtesy of Taro Nasu, Tokyo
Everything is Learned IV
ผลงานชิ้นนี้ ไรอัน แกนเดอร์ ได้สำรวจเรื่องเล่างานประติกรรม The Thinker อันมีชื่อเสียงของโอกุสต์ โรแด็ง (ค.ศ. 1840-1917) สิ่งที่เราเห็นคือก้อนหินซึ่งนักครุ่นคิดนั่งทับอยู่ เขาได้ออกจากเรื่องราวนั้นแล้ว แต่หลักฐานการดำรงอยู่ของเขายังคงอยู่
รอยหยักบนก้อนหินแนะนำให้เขานั่งแล้วครุ่นคิดสักพัก แต่แรงผลักดันที่อยู่เบื้องหลังการครุ่นคิดอันยาวนานของเขาคืออะไรกันล่ะ ความคิดของเขาจะนำไปสู่ข้อสรุปที่น่าพอใจหรือไม่ และอะไรที่ทำให้เขาลุกขึ้นและจากไป
การเล่าเรื่องเป็นแก่นสำคัญธรรมดาๆที่ทำงานผ่านผลงานของแกนเดอร์
และด้วยงานชิ้นนี้ เขาได้กระตุ้นให้เราตั้งคำถามกับโลกรอบตัวเราอีกครั้ง
Metaverse
ประติมากรรมนกแห่งสวรรค์อันยอดเยี่ยม 16 ชิ้นนี้ได้ตั้งคำถามเกี่ยวกับธรรมชาติของความจริงและเรื่องแต่ง ไรอัน แกนเตอร์ บอกเล่าเรื่องราวอันซับซ้อนที่แต่งขึ้นมาโดยมองผ่านวรรณกรรมชีวิตจริงของมอริส อีเกอร์ตัน (ค.ศ. 1874-1958) เรื่อง the
fourth Baron Egerton
ในนิยายเรื่องนี้ นักสำรวจตัวยงอย่างอีเกอร์ตันรีบเร่งกลับมาจากการเดินทางเพื่อไปยังนิวกินี และได้ป่าวประกาศว่าเขาเพิ่งได้ค้นพบนกแห่งสวรรค์ที่หายาก เขาทูลเกล้าฯเสนอสิ่งที่เขาค้นพบแด่สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ
และบรรดาหนังสือพิมพ์ต่างก็ประโคมเรื่องราวของเขา
แกนเดอร์ ครุ่นคิดถึงเส้นที่มักจะเลือนรางระหว่างความจริงกับเรื่องแต่งผ่านการเล่าเรื่องราวของขุนนางที่สร้างขึ้น เป็นการตั้งคำถามโดยนัยว่าจำเป็นไหมที่การเล่าเรื่องจะต้องเป็นความจริงอย่างสมบูรณ์
Metaverse, 2010
Courtesy of Taro Nasu, Tokyo
Like the air we breath, 2011
Courtesy of Taro Nasu, Tokyo
Like the air we breath
สำหรับผลงานชิ้นนี้ ไรอัน แกนเดอร์ ขอให้คุณพิจารณว่าสิ่งมีค่าที่สุดในชีวิตนั้นสามารถมองเห็นได้ด้วยตาจริงหรือไม่ ในศาสนาชินโต คามิหรือบรรดาเทพเจ้าปรากฏตัวหลากหลายรูปแบบ ทั้งน้ำตก ต้นไม้ ก้อนหินและสัตว์ต่างๆ แม้รูปแบบเหล่านี้จะไม่
"ทรงคุณค่า" ในตัวเอง แต่พวกเขาได้แสดงให้เห็นถึงสาระสำคัญอันศักดิ์สิทธิ์ของศาสนา
สิ่งที่ถูกฝังอยู่ใต้เสาไม้ต้นนี้เป็นแคปซูลกาลเวลาที่เต็มไปด้วยสิ่งของ "ทรงคุณค่า" ที่เด็กๆ 75 คนจากโรงเรียนอนุบาลที่อยู่ใกล้ศาลเจ้าดะไซฟุ
เท็นมังงุ บริจาคให้คนละชิ้น สิ่งของเหล่านี้วางไว้ในภาชนะบรรจุที่ลมเข้าไม่ได้และฝังไว้ใต้ดิน ซึ่งหลักฐานเพียงอย่างเดียวเพื่อยืนยันการดำรงอยู่ของพวกเขาก็คือเสาไม้ที่ประดับด้วยสัญลักษณ์ของวัตถุแต่ละชิ้นต้นนี้
ภาพถ่ายศิลปินเจ้าของผลงาน
ไซมอน ฟุจิวาระ
ไซมอน ฟุจิวาระ ศิลปินแบบสหวิชาการลูกครึ่งญี่ปุ่นอังกฤษ ใช้ผลงานของเขารักษาความลึกลับของสภาวะมนุษย์ไว้มากกว่าจะอธิบาย และมักใช้ประสบการณ์ชีวิตของตนสร้างสรรค์เรื่องเล่าใหม่ๆ เขาสร้างงานศิลปะจัดวางอันน่าประทับใจผ่านสื่อต่างๆ ตั้งแต่ภาพยนตร์ไปจนถึงจิตรกรรม ภาพถ่ายไปจนถึงประติมากรรมและการแสดง ฟุจิวาระได้จัดแสดงผลงานและนำเสนอคอลเลคชันงานศิลปะของเขาไปทั่วโลก
The Problem of History
เก้าอี้ในสวนสีขาวตัวนี้อาจดูไม่น่ามองและถูกทอดทิ้ง แต่ก็ยืนหยัดอยู่ในฐานะอนุสรณ์สถานแห่งผู้รอดชีวิตจากสงคราม แม้เก้าอี้ตัวนี้อาจดูเหมือนเป็นพลาสติก แต่จริงๆ แล้วมันทำมาจากทองแดง โลหะเป็นที่ต้องการอย่างสูงในสมัยสงครามโลกครั้งที่
2 และประติมากรรมที่ทำจากทองแดงในศาลเจ้าหลายชิ้นถูกหลอมละลายนำไปสร้างอาวุธ
เก้าอี้ตัวนี้จะหลีกเลี่ยงชะตากรรมของประติมากรรมในยามสงครามได้หรือไม่ บางครั้งกิ่งก้านต้นไม้จะแทรกเข้ามาและยกมันขึ้นจนเอื้อมไม่ถึง บางสิ่งอาจซ่อนอยู่ในมุมมองเรียบๆในแบบ
"เรื่องราวประจำวัน" ที่จะปกป้องมันจากการทำลายล้างของอนาคต และยิ่งไปกว่านั้น "เรื่องราวประจำวัน" จะหมายถึงสิ่งใดในอีกหนึ่งพันปีต่อจากนี้
The Problem of History, 2013
Courtesy of Taro Nasu, Tokyo
The Problem of Time, 2013
Courtesy of Taro Nasu, Tokyo
The Problem of Time
เมื่อเวลาผ่านไปหลายร้อยปี วัสดุที่ใช้สร้างงานศิลปะเริ่มเสื่อมสภาพ สิ่งนี้ถือเป็นความจริงไม่เพียงสำหรับงานศิลปะบนผืนผ้าใบแบบ "ดั้งเดิม" เท่านั้น แต่ยังรวมถึงงานวาดภาพด้วยมือแบบดั้งเดิมที่บรรพบุรุษของพวกเราได้สร้างขึ้นเมื่อหลายฟันปีก่อนอีกด้วย
การเสื่อมสภาพนี้เห็นได้ด้วยตาอย่างชัดเจนและทำหน้าที่เป็นตัวอย่างเวลาที่ล่วงไปอย่างแจ่มแจ้ง
สำหรับงานชิ้นนี้ ไซมอน ฟุจิวาระ ได้ร่างลายฝ่ามือของเด็กอนุบาลในท้องถิ่นบนก้อนหินเทียม แต่เดิมหินก้อนนี้ตั้งอยู่ในศาลาเอมะโดะที่มีโครงสร้างเปิดโล่งของศาลเจ้า ซึ่งมีตัวอย่างภาพวาดที่สีซีดจางไปตามอายุ เมื่อเวลาผ่านไปสีน้ำที่ใช้วาดลายฝ่ามือเริ่มลบเลือนไปเมื่อสัมผัสกับสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ
เป็นการกระทบกระเทียบว่าก้อนหินที่มนุษย์สร้างขึ้นจะยังคงไม่เปลี่ยนแปลง ซึ่งกระตุ้นความคิดเรื่องธรรมชาติของความคงทนถาวร
The Problem of Faith
ในขณะที่มนุษยชาติยังคงค้นหาวิธีใหม่ๆ ที่ซับซ้อนมากยิ่งขึ้นเพื่อจัดการกับโลกตามธรรมชาติ แต่ความแตกแยกและการตัดขาดระหว่างโลกแห่งวิทยาศาสตร์ (ความรู้ที่ตรวจสอบได้) กับความเชื่อ (ความเชื่อทางจิตวิญญาณ) ยิ่งชัดเจนมากขึ้น ฟุจิวาระได้เสาะแสวงหาการแบ่งขั้วในผลงาน
The Problem of Faith โดยรวมก้อนหินที่ดูเป็นธรรมชาติเข้ากับไม้ยันรักแร้เพื่อสร้างบทสนทนาเรื่องสิ่งใดเป็นความจริงและสิ่งใดไม่เป็นความจริง
ผลงานชิ้นนี้ประกอบด้วยก้อนหินกลวงที่หล่อจากคอนกรีตวางลงในสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติโดยมีเครื่องมือช่วยเดินแทรกเข้าไปในหินก้อนนั้น
ซึ่งนำมาฝังไว้ติดกันอย่างจงใจ ไม้ยันรักแร้แสดงนัยถึงการช่วยเหลือจากความเชื่อหรือศาสนา สิ่งประดิษฐ์ชิ้นนี้จะกลายเป็นเป้าหมายของการอุทิศตนในอนาคตได้ด้วยหรือไม่
The Problem of Faith, 2013
Courtesy of Taro Nasu, Tokyo
ภาพถ่าย โดย โอลา รินดัล
ปิแอร์ ฮูไอ
ปิแอร์ ฮูไอ ศิลปินเชิงแนวคิดชาวฝรั่งเศสได้สำรวจความหลากหลายของแก่นแนวคิดเชิงปรัชญาผ่านภาพยนตร์และศิลปะจัดวางในพื้นที่เฉพาะเจาะจง ตลอดเส้นทางอาชีพ เขาได้จัดแสดงผลงานไปทั่วโลกและได้รับรางวัลมากมาย รางวัลเหล่านี้รวมถึงรางวัลจูรีของงานเวนิส เบียนนาเลในปี 2001 และรางวัลฮูโก บอสส์ ที่พิพิธภัณฑ์โซโลมอน อาร์ กุกเกนไฮม์ ในนิวยอร์กเมื่อปี 2002
EXOMIND
เมื่อมองผ่านงาน Exomind ปิแอร์ ฮูไอ ศิลปินชาวฝรั่งเศสได้สร้างจักรวาลขนาดเล็กด้วยสัญลักษณ์ที่ลึกซึ้ง ซึ่งตั้งคำถามถึงปฏิสัมพันธ์ระหว่างโลกที่มนุษย์สร้างขึ้นกับโลกตามธรรมชาติ ชิ้นส่วนสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตทั้งหมดล้วนมีความหมายเชิงสัญลักษณ์หรือมีลักษณะทางพันธุกรรมที่หายาก
ฝูงผึ้งดำรงชีวิตอยู่ด้วยการผสมเกสรดอกไม้จากสายพันธุ์โทบิอุเมะ หรือต้นบ๊วย "บินได้" อันโด่งดังซึ่งเติบโตในบริเวณศาลเจ้า มีแอกโซลอเติล (เม็กซิกัน ซาลาแมนเดอร์) 1 คู่ ซึ่งเก็บรักษาครีบที่เหมือนลูกอ๊อดเอาไว้ตลอดชีวิตอาศัยอยู่ในสระน้ำ
รูปปั้นตรงกลางเป็นประติมากรรมรูปผู้หญิงที่มีรังผึ้งคลุมศีรษะ ระบบนิเวศที่ฮูไอสร้างขึ้นยังมีดอกบัว (ลูกผสมจากสระน้ำของโกลด มอแน ที่ฌีแวร์นี) แมลงต่างๆ แมวสามสี และต้นส้ม
Exomind, 2017
คอนกรีตหล่อเป็นรูปรังผึ้ง ฝูงผึ้ง ต้นส้ม (ไดได) ต้นบ๊วย (ตามแนวโทบิอุเมะ) ต้นพืช ทราย หิน แมวสามสี มด แมงมุม ผีเสื้อ สระน้ำคอนกรีตที่มีดอกบัว (ตามแนวฌีแวร์นี) แอกโซลอเติลและแมลงต่างๆ
Courtersy of the artist;
Taro Nasu, Tokyo พิพิธภัณฑ์แห่งชาติสำหรับศิลปะสมัยใหม่ที่โตเกียว ภาพถ่ายโดย ยาสุชิ อิชิคาวะ
พิพิธภัณฑ์ศิลปะเคได
อาณาบริเวณศาลเจ้าดะไซฟุ เท็นมังงุ เต็มไปด้วยงานศิลปะ ตั้งแต่ชิ้นงานที่จับต้องได้ไปจนถึงกิจกรรมทางวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ เปลี่ยนศาลเจ้าทั้งหมดให้กลายเป็นแกลอรี โปรแกรมของศาลเจ้าอุดมไปด้วยงานศิลปะร่วมสมัยเพราะดึงดูดยอดฝีมือที่มีชื่อเสียงระดับนานาชาติให้มาสร้างสรรค์ผลงานในพื้นที่ เพื่อสานต่องานศิลปะในทุกแง่มุมชีวิตศาลเจ้า ด้านออนไลน์ก็มีข้อมูลปัจจุบันเรื่องศิลปะที่ศาลเจ้าดะไซฟุ เท็นมังงุ
ดูเพิ่มเติม